ปัญหาของสุขภัณฑ์

ปัญหาจากก๊อกน้ำโถชักโครกและอ่างล้างหน้าเป็นสุขภัณฑ์ที่มักจะเกิดปัญหาจากการใช้งานอยู่บ่อย ๆ หากรู้ก่อนว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากอะไร ก็สามารถป้องกันและแก้ไขได้อย่างถูกต้องทันเวลา

ปัญหาต่างๆในระบบระบบท่อและสุขภัณฑ์และวิธีแก้ไข


1.ส้วมชักโครก กดไม่ลง

ปัญหาโถสุขภัณฑ์ชักโครกไม่ลง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ติดตั้งท่ออากาศต่อจากท่อน้ำทิ้งเพื่อช่วยระบายอากาศที่ค้างอยู่ในระบบ หรือหากใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเกรอะ-บ่อซึม อาจเกิดอาการ “ส้วมเต็ม” หรือน้ำไม่สามารถซึมสู่ดินโดยรอบได้เนื่องจากมีน้ำสะสมเต็มอยู่ในดินโดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้โดยการเลือกใช้ถังบำบัดสำเร็จรูป

2.รูระบายน้ำทิ้งตัน

เกิดจากมีขยะเข้าไปอุดตัน ที่ช่องระบายน้ำสะสมจนทำให้น้ำไม่ไหล ต้องใช้อุปกรณ์ล้วงดึงขยะออกให้หมด

3.อ่างล้างหน้าไม่ระบาย

ถ้าเป็นท่อน้ำทิ้งแบบกระเปาะสามารถถอดส่วนล่างออกมาทำความสะอาดสิ่งที่อุดตัน แต่ถ้าเป็นท่อรูปตัว S หรือ P ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น งูเหล็กหรือสายล้างท่อเพื่อทะลุทะลวงสิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ และถ้ายังไม่สำเร็จก็ต้องใช้บริการน้ำยาหรือสารเคมีเพื่อย่อยสลายสิ่งที่อุดตันต่อไป

4.สายฉีดชำระเสียบ่อย

ควรเลือกใช้สายฉีดชำระที่มีคุณภาพดี สามารถทนแรงดันน้ำได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน

5.อ่างอาบน้ำรั่ว
ปัญหารั่วซึมใต้อ่างอาบน้ำควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะหากเกิดขึ้นแล้วจะแก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะกรณีหาสาเหตุรั่วซึมไม่เจอ อาจเพราะอยู่ใต้ฝ้าหรือใต้พื้นอ่างอาบน้ำ (แต่หากรอยรั่วอยู่ในจุดที่มองเห็น ก็สามารถอุดซ่อมแซมได้เลยโดยไม่ต้องเจาะฝ้า ทุบพื้น หรือรื้ออ่างอาบน้ำ) ทั้งนี้สิ่งที่ควรคำนึงอันดับแรกคือ การจัดเตรียมพื้นที่บริเวณใต้อ่างอาบน้ำให้มีลักษณะลาดเอียงเป็น Slope สำหรับระบายน้ำ โดยทำ Floor Drain เพิ่มอีกตัวที่ริมพื้น Slope ใต้อ่าง เพื่อระบายน้ำไปที่ท่อระบายน้ำโดยตรง (แยกกันกับ Floor Drain น้ำที่ไหลออกจากอ่างอาบน้ำ) ตัวพื้นใต้อ่างควรหนาอย่างน้อย 10 ซม. พร้อมผสมน้ำยากันซึมในพื้นซีเมนต์และขัดมันให้เรียบ ลื่น   ในส่วนของพื้นที่จะปูกระเบื้องควรปูให้เรียบได้ระดับ อย่าให้มีรอยบุ๋ม เพราะอาจเกิดน้ำขังเป็นแอ่งกระทะได้ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือควรใช้ยาแนวที่มีคุณภาพ และใช้ซิลิโคนที่ได้มาตรฐานสำหรับอุดรอยรั่วซึมรอบอ่าง  นอกจากนี้การติดตั้งม่าน ฉากกั้นอาบน้ำ หรือการทำรางระบายน้ำในจุดที่ติดกับพื้นที่หรืออ่างอาบน้ำ ก็เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันน้ำท่วมขังและพื้นลื่นได้เช่นกัน

6.มีกลิ่นในห้องน้ำ

ปัญหาเรื่องกลิ่น สาเหตุอาจเกิดจากการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ได้ระดับหรือวาล์วปล่อยน้ำชำรุด จึงทำให้น้ำในคอโถสุขภัณฑ์ท่วมไม่พอที่จะกันกลิ่นซึ่งย้อนกลับขึ้นมาได้
การแก้ไข ตรวจดูที่วาล์วปล่อยน้ำ หากชำรุดก็ควรเปลี่ยนอันใหม่ แต่ถ้าวาล์วไม่เสียก็อาจเป็นที่การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ที่ไม่ได้ระดับ จนทำให้ระดับน้ำที่อยู่ในคอโถสุขภัณฑ์ที่ไม่สามารถกันกลิ่นได้ แก้ไขได้ด้วยการปรับระดับการติดตั้งเสียใหม่

7.พื้นห้องน้ำรั่วซึม

 ปัญหาน้ำรั่วภายในห้องน้ำอาจเกิดได้จากการเสื่อมสภาพจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ก็อก วาล์ว ฯลฯ  หรืออาจเกิดจากปัญหาที่แก้ไขได้ยากอย่างท่อน้ำเดินในผนังแตกรั่ว ซึ่งทำให้ต้องสกัดผนังเพื่อเดินท่อประปาใหม่ นอกจากนี้ สำหรับห้องน้ำที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลา 15-20 ปี อาจเกิดปัญหาน้ำซึมผ่านชั้นพื้นคอนกรีต ลงไปด้านล่าง จึงควรตรวจสอบและปรับปรุงห้องน้ำพร้อมทำระบบกันซึม ให้เรียบร้อย

8.ปัญหาจากก๊อกน้ำ

 ปัญหาก๊อกน้ำไหลไม่แรง อาจเกิดจากตะกอนซึ่งมาจากน้ำประปาไปอุดตันบริเวณวาล์วปล่อยน้ำทำให้น้ำไหลช้า
การแก้ไข ถ้าปลายก๊อกสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ ให้ใช้แปรงสีฟันขูดคราบตะกอนออกแล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด
ปัญหาก๊อกรั่วซึม บริเวณหัวก๊อกหรือมือหมุน เนื่องจากน็อตหลวมหรือแหวนยางกันซึมหมดสภาพการใช้งาน


9.ท่อตัน
ปัญหาท่อตัน อาจเกิดจากระดับของโถสุขภัณฑ์ไม่สูงพอที่จะทำให้สิ่งปฏิกูลนั้นไหลลงสู่ถังบำบัดได้อย่างสะดวกหรือท่อระบายอากาศอุดตันจนทำให้ชักโครกไม่ลง
การแก้ไข ขึ้นอยู่กับอาการว่ารุนแรงแค่ไหน เพราะถ้าหากมีสิ่งอุดตันชั่วคราวก็สามารถใช้กรวยยางอัดกระแทกหรือสว่านมือสำหรับไชคอห่านดันสิ่งที่กีดขวางให้หลุดออกไป เพื่อ ไม่ให้เกิดปัญหาท่อตันแบบถาวรควรติดตั้งนะดับโถสุขภัณฑ์ให้อยู่สูงกว่าบ่อ บำบัดและเดินท่อระบายอากาศหรือแก๊สที่เกิดจากการหมักหมมของสิ่งปฏิกูลจากบ่อ บำบัดด้วย

1 ความคิดเห็น: